นายพิชัย แก้วขาว

หน้าแรก ย้อนกลับ นายพิชัย แก้วขาว

นายพิชัย แก้วขาว
 

 

นายพิชัย แก้วขาว

ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหะกรรม ผู้ทรงความรู้ในด้านวัฒนธรรม 
และภูมิปัญญาท้องถิ่นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

 

1.ประวัติ

            นายพิชัย แก้วขาว1  อดีตอาจารย์ประจําแผนกช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคปัตตานี                    เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโลหะกรรมและเป็นผู้ทรงความรู้ในด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2500 บิดาชื่อนายฉัง มารดาชื่อนางแฉล้ม และได้สมรสกับนางเพ็ญพร มีบุตรร่วมกัน 2 คน
        ทั้งนี้อาจารย์พิชัย สนใจกริชเป็นอย่างมากเนื่องจากที่บ้านมีกริช 1 เล่มเป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษ หลังจากได้เป็นอาจารย์สอนหนังสืออยู่ที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงได้ริเริ่มสะสมกริช ต่อมาได้มีโอกาสไปพบเจอศาสตราจารย์ สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณและเป็นผู้เขียนบทความเกี่ยวกับกริชลงในสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้  ซึ่งต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2540 ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ให้อาจารย์พิชัยร่วมดําเนินการศึกษาวิจัยเรื่อง “กะเทาะสนิมกริชแลวิถีชีวิตชาวใต้ตอนล่าง” เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับกริช และเมื่อดําเนินการเสร็จในปี พ.ศ. 2544 ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ ได้เห็นองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวอาจารย์พิชัย จึงให้เป็นผู้ดําเนินการศึกษาวิจัย เรื่อง “ภูมิปัญญาโลหะกรรมพื้นบ้าน” เพื่อศึกษาและทดลองปฏิบัติจริงว่าลวดลายที่เกิดขึ้นจากตากริชการทําฝักกริช ด้ามกริช และหัวกริช เกิดขึ้นและทําได้อย่างไร 

2.การศึกษา

 พ.ศ. 2506:    สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 จากโรงเรียนวัดบันลือ
                        คชาวาร อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

พ.ศ. 2510:     สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-7 จากโรงเรียนโคกโพธิ์ 
                        อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

พ.ศ.2513:      สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จากโรงเรียนโพธิ์คีรีราช
                       อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

พ.ศ.2516:      สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ช่างยนต์                                                      จากโรงเรียนเทคนิคสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

พ.ศ.2519:      สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ช่างยนต์ 
                        จากวิทยาลัยเทคนิคภาคใต้ 

พ.ศ.2535:      สำเร็จการศึกษาระดับชั้นระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์บัณฑิต
                        สาขาศิลปศึกษา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จังหวัดยะลา

3.การทำงาน 

พ.ศ.2523:      อาจารย์ประจําช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคปัตตานี อำเภอปัตตานี จังหวัดสงขลา

4.รางวัล     

มีผลงานการออกแบบและผลิตชิ้นงานต้นแบบขึ้นมากว่า 30 ชิ้น มีลวดลายเนื้อเหล็ก 20 ลวดลาย ดังนี้  1) ลายไข่นักคุ้ม (เปลือกไข่) 2) ลายก้นหอย (ร็อกขี้หอย) 3) ลายฟันปลา 4) ลายระบายผ้า    5) ลายตานกเปล้า 6) ลายขนนก 7) ลายแววนกยูง 8) ลายมัดหวาย 9) ลายเกล็ดปลา 10) ลายไม้พุก (ลายไม้ผุ) 11) ลาบใบมะพร้าว 12) ลายใบสน 13) ลายรวงข้าว 14) ลายสะดือปลา 15) ลายภูเขา (กุหนุง) 16) ลายหนังเข้ 17) ลานนิ้วมือ 18) ลายเข็มทอง 19) ลายท้องงู และ 20) ลายตีนช้าง

 

1 เรียบเรียงโดยสรุปจากเว็บไซต์ “https://clib.psu.ac.th/southerninfo/content/4/229cc861”, สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2564

แชร์ 1211 ผู้ชม

ครูพื้นบ้าน

องค์ความรู้